Products & Service
products & service
Intelligence & Potential Dermatoglyphics Analysis (IPDA)
products description
เกี่ยวกับ DGPA

ระบบ DGPA ได้ใช้ศาสตร์แห่งลายนิ้วมือเป็นพื้นฐาน และใช้เทคนิค Bio-Metric System ในการจัดการเก็บลายนิ้วมือส่วนบุคคล หลังจากนั้นข้อมูลที่เก็บได้จะถูกรวบรวม และทำการเปรียบเทียบเชิงปริมาณในการแยกแยะหมวดหมู่ของลายนิ้วมือ (J. Edgar Hoover) แล้วจึงนำเอาจำนวนที่ได้ทำการเปรียบเทียบเพื่อความแม่นยำกับคลังข้อมูลใน ระบบ DGPA ซึ่งเป็นการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิด สุดท้ายจึงออกมาเป็นรายงานส่วนบุคคลที่ไม่ซ้ำกับใคร

 

ประโยชน์ของการสแกนลายนิ้วมือ

สำหรับเด็กเล็กและประถม

* ประโยชน์สำหรับผู้ปกครอง :-

๐ ทำให้เข้าใจอุปนิสัยโดยธรรมชาติของลูก

๐ สร้างความเข้มแข็งในข้อได้เปรียบที่มีมาแต่กำเนิดเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเองของลูก

๐ กำหนดเป้าหมาย การเรียนรู้ที่เหมาะสม ตามศักยภาพแฝงที่มีมาแต่กำเนิด

๐ สำรวจตัวเองว่า ได้แสดงท่าที และวิธีการอบรมบ่มเพาะที่ถูกต้องหรือไม่

๐ ช่วยประหยัดเวลา แรงกาย แรงใจ ค่าใช้จ่าย ในการเรียน การอบรมที่ไม่จำเป็น

๐ ค้นหาจุดเด่น และจุดที่ต้องเสริมสร้างของสมองที่ติดตัวแต่กำเนิด 

๐ เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง เหมาะสม ลดภาวะความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองและเด็ก

 

* ประโยชน์สำหรับตัวเด็กเอง :-

๐ ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพจากตัวผู้ปกครองเอง

๐ สร้างค่านิยมที่ถูกต้อง จากการปลูกฝังแนวคิดทัศนคติที่เหมาะสม เมื่อทราบจุดเด่นในตัวเด็ก

๐ เรียนรู้อย่างมีความสุข ลดความเครียด

๐ ก้าวเดินตามแนวทางที่เหมาะสมของตัวเอง ความถนัดถูกดึงมาใช้อย่างเต็มที่

 

สำหรับวัยรุ่น

* ประโยชน์สำหรับผู้ปกครอง :-

๐ ค้นหาความสอดคล้องระหว่างความสามารถของตัวเองและความคาดหวัง

๐ ลดความขัดแย้ง และแรงเสียดทาน สือสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

๐ หลีกเลี่ยงการเสียเวลาทุ่มเทแรงกาย แรงใจ เสียค่าใช้จ่ายในการสึกษาที่ไม่จำเป็น

๐ สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ก่อนที่เด็กจะเข้าสู่สังคม

๐ กำหนดเป้าหมายตามศักยภาพที่มาแต่กำเนิดและความสนใจของตัวเอง

 

* ประโยชน์สำหรับวัยรุ่นเอง

๐ รู้จักตนเอง และวางตำแหน่งตนเองได้ชัดเจนขึ้น

๐ ค้นพบความสามารถที่แท้จริง ความสนใจของตนเอง และนำไปสู่การประยุกต์ใช้กับสาขาอาชีพในอนาคต

๐ สร้างความมั่นใจกับประเภทงานที่ถนัดก่อนเข้าทำงาน

๐ ค้นพบการทำงานที่ทำให้ตนเองมีความสุข และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

 

สำหรับผู้ใหญ่

* สำหรับผู้ใหญ่เอง :-

๐ การกำหนดตำแหน่งตัวเอง

ยอมรับศักยภาพโดยกำเนิดและประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม

๐ ยืนยันความไผ่ฝันของตัวเองใหม่ หร้อมจุดประกายความกระตือรือร้นของตัวเองอีกครั้ง

๐ สำรวจความชื่นชอบ เลือกงานที่เหมาะสม

๐ ลงทุนด้านการเรียนรู้เพื่อตนเอง ได้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

๐ พัฒนาแก่นความเชี่ยวชาญของตัวเอง

 

* ประโยชน์สำหรับบริษัท :-

๐ คัดกรองพนักงานให้เหมาะสม

๐ วางแผนการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๐ ลดความขัดแย้งภายในบริษัท

๐ สร้างแรงจูงใจให้เหมาะสมกับพนักงาน

 

* ประโยชน์สำหรับคู่สามี-ภรรยา :-

๐ ลดความขัดแย้งในครอบครัว สร้างสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง

๐ เข้าใจอุปนัสัยตามธรรมชาติของคู่ครอง

๐ ยอมรับในตัวตนของกันและกัน และเคารพในความต่าง

๐ การสื่อสารมีประสิทธิภาพยิ่งขึัน

วิวัฒนาการลายผิววิทยา

Jan Evangelist Purkinje

     ใน ปีค.ศ. 1823 นักฟิสิกส์และชีววิทยาชาว Czech ชื่อ Johann Evangelist Purkinje เริ่มศึกษาลายผิวที่นูนขึ้นมาในฝ่ามือและฝ่าเท้าของมนุษย์เพื่อทำการจัดประเภทให้เป็นระบบ เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของมนุษย์กับลายผิวเหล่านั้นจนได้ทำการตีพิมพ์งานวิจัยซึ่งจัดแบ่งประเภทลายนิ้วมือออกเป็น 9 กลุ่ม

Dr.Harold Cummins

      ในปีค.ศ. 1926 นักกายวิทยาชาวอเมริกาชื่อ Dr.Harold Cummins วิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ลายนิ้วมือแต่ละประเภทศึกษาตั้งแต่ในเชิงมานุษยวิทยาไปจนถึงทางพันธุศาสตร์ลายนิ้วมือของคนผิดปกติเป็นคนแรกที่ทำการรายงาน ถึงลายนิ้วมือที่มีลักษณะพิเศษแบบเฉพาะของบุคคลที่มีอาการดาวน์ซินโดรมโดยกำเนิดและพบว่าตัวอ่อนในครรภ์จะเริ่มพัฒนารูปร่างและผิวหนังที่มือและเท้าใน ช่วงที่มีอายุถึง 13 สัปดาห์ไปจนกระทั้งอายุ 24 สัปดาห์ลายนิ้วมือที่ละเอียดจึงจะเกิดเป็นรูปร่างชัดเจนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดชีวิต

Dr.Norma Ford Walker

      ใบปี ค.ศ. 1926 Dr.Norma Ford Walker เป็นคนแรกที่ได้ทาการกาหนดสัญลักษณ์ลายนิ้วมือของบุคคลที่อยู่นกลุ่มดาวน์ซินโดรม (Dermatoglyphics index) และหลังจากนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิจัยอยู่นานปัจจุบันก็ได้มีการพิสูจน์ แล้วว่าบุคคลที่มีความผิดปกติทางโครโมโซมหรือความผิดปกติทางสมองล้วนมี รูปพรรณของลายทางผิวหนังที่ต่างจากปกติด้วยซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ตามมาตรฐานนี้ ได้มีความแม่นยำสูงถึง 70% ขึ้นไป

Wilder Graves Penfield

      ในปีค.ศ. 1950 Wilder Graves Penfield ศาสตราจารย์วิชาประสาทศัลยศาสตร์ชาวแคนนาดาเสนอบทความเกี่ยวเนื่องระหว่าง สมองใหญ่ไว้ในงานเขียนของเขาที่มีชื่อว่า “The Cerebral Cortex Of Man” แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเกี่ยวโยงกันอย่างยิ่งระหว่างลายมือและสมอง ใหญ่


Noel Jaquin

      ในปี ค.ศ. 1958 นักจิตวิทยาชื่อ Noel JaquinยืนยันKatherine St. Hill
      ในปี ค.ศ. 1980 Katherine St. Hill ได้ก่อตั้งชมรมลายนิ้วมือแห่งลอนดอน L.C.S (London Cheirological Society) และทุ่มเทให้กับงานด้านการยกระดับการวิจัยฝ่ามือในเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีคุณ ค่า ซึ่งต่อมาทางชมรมได้ตีพิมพ์นิตยสาร “The Palmist Review”

Dr.Howard Gardner

      ในปี ค.ศ. 1981 นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่ง Dr.Howard Gardner ค้นพบแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา ได้รับการตอบรับจากทั่วโลก ในปี 1990 ทฤษฎีพหุปัญญามี 8 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้างร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านความเข้าใจผู้อื่น และด้านความเข้าใจธรรมชาติ

Francis Galton

      ในปี ค.ศ. 1892 นักมานุษยวิทยา และเป็นผู้ริเริ่มวิจัยวิชาสุชาติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชาวอังกฤษชื่อ Francis Galton ตีพิมพ์หนังสือ Fingerprint พบว่าลายนิ้วมือของแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ individuality ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ (Permanence) เริ่มกำหนดและแบ่งแยกลายมือออกเป็น 3 ประเภทคือหลัก ลายก้นหอย ลายมัดหวาย ลายโค้งรวม ที่ใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

Katherrine St.Hill

     ในปี ค.ศ. 1980 Katherine St. Hill ได้ก่อตั้งชมรมลายนิ้วมือแห่งลอนดอน L.C.S (London Cheirological Society) และทุ่มเทให้กับงานด้านการยกระดับการวิจัยฝ่ามือในเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่า ซึ่งต่อมาทางชมรมได้ตีพิมพ์นิตยสาร “The Palmist Review”

สแกนลายนิ้วมือเหมาะกับใคร?

การสแกนลายนิ้วมือเพื่อค้นหาศักยภาพแฝงด้วยระบบ DGPA เหมาะสำหรับใครบ้าง?

• เด็กช่วงปฐมวัย (ตั้งแต่แรกเกิด) 

จะมีการเติบโตของสมองอย่างเต็มที่ และเป็นการเติบโตของการเชื่อมโยงและการสะสมข้อมูลการบันทึกต่างๆ ลงในสมอง ดังนั้นประโยชน์ของการวิเคราะห์เส้นลายผิวด้วยระบบ DGPA จะช่วยให้ค้นพบศักยภาพต้นกำเนิดของเด็กช่วงปฐมวัยเพื่อให้ผู้ปกครองจะได้ตัดสินใจได้ถูกต้องในรูปแบบการเลี้ยงดูบุตรและวิธีการให้การศึกษาที่ถูกต้องเหมาะสม

• เด็กเล็ก 

สมองจะเริ่มลดเส้นใยสมองส่วนที่ไม่ได้รับความสนใจลง ดังนั้นประโยชน์ของการวิเคราะห์ DGPA ในช่วงอายุนี้ จะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจศักยภาพต้นกำเนิดของเด็ก และออกแบบการเรียนรู้และการพัฒนาตรงกับศักยภาพต้นกำเนิดของเด็กเพื่อดึงดูดให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ เพื่อให้พวกเขาสามารถดูดซับองค์ความรู้และทักษะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะเป็นประโยชน์ในการแสดงศักยภาพที่สูงเมื่อเติบโตขึ้นมากกว่าที่จะมาพัฒนาภายหลังในช่วงที่พวกเขาเติบโตขึ้นมาแล้ว โดยการค้นพบสไตล์การเรียนรู้และพื้นที่ของสติปัญญาในช่วงอายุนี้จะช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการให้การศึกษาและกิจกรรมที่เด็กควรจะได้รับมากกว่าในช่วงอายุอื่นๆ

• วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 

ในอายุช่วงวัยรุ่นจะเป็นช่วงที่สมองจะลดเส้นใยสมองส่วนที่ไม่ได้รับการใช้งานลง ดังนั้นจึงเป็นระยะที่สมองเริ่มจะสร้างความเชี่ยวชาญและสร้างอัตลักษณ์ส่วนบุคคลขึ้น ดังนั้นประโยชน์ของการวิเคราะห์ DGPA ในช่วงนี้จะช่วยให้ค้นพบสไตล์การเรียนรู้ เพื่อจะได้ทราบว่าหากจะยกระดับการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บุคคลควรได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยแนวทางและบทเรียนแบบใด

• วัยผู้ใหญ่  

ช่วงวัยผู้ใหญ่เป็นช่วงที่สมองมีการเจริญเติบโตน้อยมากหรือเรียกได้ว่าเป็นระยะที่หยุดการเจริญเติบโต ดังนั้นจะเป็นช่วงที่ศักยภาพทางสมองที่ไม่ได้รับการใช้งานอย่างถูกต้องจะถูกลดระดับลง โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์ DGPA ในช่วงระดับอายุนี้จึงทำให้ค้นพบศักยภาพต้นกำเนิดที่คนวัยทำงานใช้ตัดสินใจในการประกอบอาชีพที่ตนเองถนัดได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ความเข้าใจอย่างตนเองที่ลึกซึ้งมากขึ้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในสื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น สำหรับนายจ้างจะช่วยให้สามารถคัดกรองคนเข้าทำงานได้ดียิ่งขึ้นว่ามีจุดแข็งในด้านใด และควรมอบหมายตำแหน่งงานในส่วนใดที่ผู้ทำงานมีศักยภาพสูงสุด รวมถึงจะทำให้เข้าใจถึงความสามารถของบุคลากรที่ควรส่งเสริมและพัฒนาเส้นทางอาชีพเพื่อยกระดับประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรในอนาคต

สมองและลายนิ้วมือ

ลายนิ้วมือแต่ละนิ้วสัมพันธ์กับสมองซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งสามารถบ่งบอกศักยภาพที่ต่างกันดังนี้ 

สมองและเส้นของลายนิ้วมือเชื่อมโยงกันอย่างไร

สมองซีกขวาจะเชื่อมโยงกับมือซ้ายและสมองซีกซ้ายจะเชื่อมโยงกับมือขวา 

 

มือซ้าย 

นิ้วโป้ง   :   การสร้างแรงบันดาลใจของความเป็นผู้นำ / เป้าหมายและวิสัยทัศน์ 

นิ้วชี้        พื้นที่และการจินตนาการของจิตใจ  /  การคิดและการสร้างสรรค์

นิ้วกลาง   ความรู้สึกในการสัมผัส  /  ศิลปะ

นิ้วนาง   :   ความรู้สึกอันเกี่ยวกับเสียง / ดนตรี

นิ้วก้อย   :  ความรู้สึกในเชิงมิติสัมพันธ์ / การมองเห็นรูปภาพ 

 

มือขวา 

นิ้วโป้ง   :   การสื่อสารและการจัดการ  /  การวางแผนและการตัดสิน

นิ้วชี้    :     ตรรกะและการอนุมาน  / คณิตศาสตร์

นิ้วกลาง  :  การเคลื่อนไหวทางร่างกาย  /  การปฏิบัติ

นิ้วนาง    ความเข้าใจต่อการฟัง  /  การฟัง

นิ้วก้อย    ความเข้าใจรูปภาพ  /  การสังเกต

© Copyright 2022 LAPC Thailand. All right reserved. Developed by ORANGE